วันพุธที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รายชื่อสมาชิกภายในกลุ่ม
นาย กวินท์ พีระพงษ์
นาย กุลทอง โอวาทสาธิต
นาย ชยุตม์ แสนมุข
นาย พัฒนะ เจียวก๊ก

โรคระบบประสาท

โรคระบบประสาท
ชักกระตุก
ลักษณะอาการ เกิดจากเส้นประสาทในสมองขดปมและมีรอยทับกัน เมื่อเลือดไหลเวียนมาถึงจุดขมวดฃ

ปม จะเกิดการคั่ง การหล่อเลี้ยงของสมองจะสะดุด ทำให้เกิดการชักกระตุก
ดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้วลักเซียม อาการจะดีขึ้นตามลำดับ อาการชักกระตุกบ่อยๆจะลดลงจนไม่ชักกระตุกอีก


ตะคริว
ลักษณะอาการ เกิดจากเส้นประสาทและเส้นเลือดเกิดการบีบตัวกระทันหัน ทำให้เกิดการเกร็ง ถ้าหากเป็นอยู่ในน้ำก็อาจจะเสียชีวิตได้

ดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้วลักเซียม ก็จะไม่เกิดอาการเกร็งขึ้น เพราะสมุนไพรไปช่วยปรับสภาพ

อาการวิงเวียนศรีษะ
ลักษณะอาการ มีหลายสาเหตุด้วยกัน
1. เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
2. เกิดจากอดนอนมากเกินไป
3. เกิดจากความดันโลหิตสูงหรือต่ำเกินไป

ดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้วลักเซียม ผู้ที่มีอาการดังกล่าว เมื่อได้ดื่มสมุนไพรไประยะหนึ่งก็จะค่อยๆทุเลาจนหายเป็นปกติ

ปัญญาอ่อน
ลักษณะอาการ เป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจแก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองอย่างมาก เพราะผู้มีอาการนี้จะเป็นภาระและไม่สามารถช่วยตนเองได้ ตามปกติมักจะเกิดจากการได้รับสารพิษ หรือเชื้อบางชนิดในระหว่างครรภ์ ทำให้ต่อมและเส้นประสาทในสมองไม่เจริญเติบโตเหมาะสมกับวัย
ดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้วลักเซียม ปรากฎว่าต่อมเซลล์และเส้นประสาทในสมองพัฒนาขึ้นตามลำดับจนถึงขั้นปกติ ตามไอคิวใกล้เคียงหรือต่ำกว่าปกติเล็กน้อย ซึ่งก็นับว่าได้ผลคุ้มค่าเพราะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้น
 
อาการคุ้มดีคุ้มร้าย
ลักษณะอาการ อาจจะเกิดจากสาเหตุ คือ
1. เกิดจากเส้นระบบประสาททับกัน ทำให้พลังงานของศูนย์สมองไม่ปกติ
2. เกิดจากโลหิตเป็นพิษเมื่อไปหล่อเลี้ยงเส้นประสาทสมองย่อมเกิดการแปรปรวน
เมื่อไปผสมกับเส้นประสาททับกันก็เกิดการลัดวงจร หรือเกิดน้ำคาวปลาเป็นพิษหลังจากคลอดบุตรแล้วมิได้รับประทานยาขับ หรือเกิดจากความเครียด ต่อมใต้สมองจะหลั่งสารบางชนิดออกมาจนเส้นประสาทขมวดทับกัน บวกกับระบบรอบเดือนของผู้หญิงไม่ปกติ เกิดเลือดเสียตกค้างและส่งขึ้นสมอง ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่ทุเลาไปได้ระยะหนึ่งแล้วอาการเก่าก็กลับมาอีก
ดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้วลักเซียม เมื่อได้ดื่มสมุนไพรระยะหนึ่ง อาการต่างๆจะค่อยๆดีขึ้นจนหายเป็นปกติและหายอย่างเด็ดขาด
 
โรคทางสมองลักษณะอาการ สมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย คนเราจะรับรู้ เคลื่อนไหวร่างกายได้ดี ก็เกิดจากพลังงานของเส้นประสาทในสมองทั้งสิ้น สมองแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่
1. ส่วนหลัง เปรียบเสมือนศูนย์บัญชาการใหญ่ควบคุมร่างกายทั้งหมด
2. ส่วนขวา จะควบคุมการทำงานร่างกายซีกซ้าย
3. ส่วนซ้าย จะควบคุมการทำงานร่างกายซีกขวา
เส้นประสาทในสมองมีเป็นจำนวนมากเป็นล้านเส้นถ้าหากได้รับความกระทบกระเทือนต่อระบบสมองหลายประการ เช่น
1. เกิดจากศรีษะกระแทกหรือกระทบกระเทือนอย่างแรง
2. เกิดจากเส้นเลือดตีบตันทำให้เลือดไปหล่อเลี้ยงไม่พอ
3. เกิดจากสมองขาดอากาศออกซิเจน เซลล์ประสาทตายไม่สั่งงาน
4. เกิดจากเส้นโลหิตย่อยปริแตก เลือดเสียไปเกาะส่วนประสาท ทำให้การสั่งงานไม่สะดวก
5. เกิดจากเส้นโลหิตใหญ่แตกคั่งในสมอง กดทับประสาททำให้ไม่สั่งงาน
6. เกิดจากเนื้องอกไปกดทับเส้นประสาทบางส่วน
7. เกิดจากการผ่าตัดและสูญเสียเส้นเลือดเส้นประสาทไปบางส่วน
8. เกิดจากความเครียดทำให้เส้นเลือดขมวดปม

อาการต่างๆจะทำให้เกิดการวิงเวียนหน้ามืด ปวดศรีษะบ่อยๆ ทำให้เกิดสมองฝ่อ หลงลืม
อัมพฤกษ์-อัมพาต

ลักษณะอาการ ร่างกายของคนเราจะมีการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ รวมทั้งการรับรู้ เกิดการสั่งงานของเส้นประสาทสมองทั้ง 3 ส่วน ส่วนซ้ายจะบังคับสั่งงานร่างกายซีกขวา ส่วนขวาจะบังคับสั่งงานร่างกายซีกซ้าย ส่วนหลังจะบังคับร่างกายทุกๆส่วนในร่างกาย ถือว่าเป็นศูนย์บัญชาการใหญ่ ถ้าหากร่างกายมีความบกพร่องอันเกิดจากไขมันในหลอดเลือด หรือความดันโลหิตสูง จะส่งผลให้เส้นประสาทในสมอง อุดตันจากไขมัน หรือตีบจากการบีบตัวของเส้นประสาทที่เกิดจากการหลั่งสารจากความเครียด เมื่อเลือดไปหล่อเลี้ยงเส้นประสาทไม่พอก็จะเกิดอาการชาหรือตาย ไม่สั่งงานทำให้เกิดอาการอัมพฤกษ์หรืออัมพาต หรือหากเกิดความดันโลหิตมากเกินไปก็จะทำให้เส้นเลือดฝอยปริแตกมีเลือดไหลซึมออกมา เป็นเลือดเสียไปเกาะตามเส้นประสาทต่างๆ ทำให้การสั่งงานไม่สะดวก ก็จะทำให้เกิดอัมพฤกษ์หรืออัมพาตเช่นเดียวกัน อาการของอัมพฤกษ์ คือ การชา การเคลื่อนไหวไม่สะดวกซีกใดซีกหนึ่ง อัมพาต คือ การเคลื่อนไหวใดๆไม่ได้ ต้องนอนอยู่กับที่อย่างเดียว
ดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้วลักเซียม ขวดแรกจะเริ่มมีอาการเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นเล็กน้อย บางคนอาจจะปวดตามขา เเขน ข้อ ถ่ายท้องหรือท้องผูก มีผื่นขึ้น ง่วงนอน หรือนอนไม่หลับ ขวดที่สอง มีการเคลื่อนไหวดีขึ้น อาการดังกล่าวข้างต้นจะหายไป ขวดที่สาม-สี่-ห้า-หก อาการต่างๆ จะดีขึ้นจนเกือบปกติ ถ้าหากดื่มต่อไปเรื่อยๆ อาการก็จะดีขึ้นจนหายเป็นปกติ
ดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้วลักเซียม เมื่อได้ดื่มสมุนไพรก็จะช่วยฟื้นฟูสร้างเซลล์สมองส่วนที่ฝ่อ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ สมองก็จะแจ่มใส ไม่หลงไม่ลืมและการเคลื่อนไหวร่างกายก็จะดีอีกด้วย
สมองเสื่อมลักษณะอาการ เป็นอาการที่เกิดจากเส้นประสาทและเส้นเลือดในสมองไม่ได้รับเลือดที่ดี ทำให้เส้นประสาทตายและเหี่ยว เกิดผลความจำเสื่อมตามลำดับ
ดื่มยาน้ำสมุนไพรจีน ฮั้วลักเซียม ทำให้ความจำดีขึ้น เพราะสมุนไพรจะไปช่วยสร้างเส้นประสาทและเซลล์ต่างๆให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การทำงานของระบบประสาท

การทำงานของระบบประสาท
       ระบบประสาทของสัตว์มีกระดูกสันหลังถ้าใช้โครงสร้างเป็นเกณฑ์ก็แบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
       1) ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) ได้แก่ สมองและไขสันหลัง2) ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral Nervous System) ได้แก่ เส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง 31 คู่
ระบบประสาททั้ง 2 ระดับนี้ ถ้าพิจารณาตามลักษณะการทำงานแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ
       (1) ระบบประสาทโซมาติก (Somatic Nervous System หรือ SNS) เป็นระบบประสาทที่ทำงานภายใต้อำนาจจิตใจ ได้แก่ การทำงานของสมอง ไขสันหลัง เส้นประสาทสมอง เส้นประสาทไขสันหลังที่นำคำสั่งไปยังหน่วยปฏิบัติงานที่เป็นกล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeleton Muscle) ซึ่งสามารถควบคุมการทำงานได้


       ลำดับการทำงานของระบบประสาทในอำนาจจิตใจ เริ่มต้นจากกระแสประสาทที่ส่งผ่านเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเข้าไปยังไขสันหลัง และถูกส่งขึ้นไปที่ศูนย์กลางออกคำสั่งที่สมองส่วนเซรีบรัมแล้วส่งกลับผ่านไขสันหลังไปตามเซลล์ประสาทนำคำสั่งซึ่งจะนำกระแสประสาทดังกล่าวไปแสดงผลที่หน่วยปฏิบัติงาน ซึ่งถ้าแยกองค์ประกอบของระบบประสาทเป็นหน่วยต่าง ๆ ที่ทำงานประสานกันแล้วจะมีลำดับการทำงานดังแผนภาพ

      จากแผนภาพการทำงานของระบบประสาท จะเห็นได้ว่ามีหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการทำงานอยู่ 5 หน่วย แต่ในบางกรณีกระแสประสาทที่ส่งผ่านเซลล์ประสาทรับความรู้สึกเข้ามายังไขสันหลัง สามารถส่งกระแสประสาทไปกระตุ้นเซลล์ประสาทนำคำสั่งให้เกิดกระแสประสาท แล้วส่งไปยังหน่วยปฏิบัติงานโดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องมีหน่วยประสานงานในสมองและไขสันหลังแต่ก็สามารถทำให้เกิดการตอบสนองได้เรียกว่า การตอบสนองแบบรีเฟลกซ์ (Reflex Action) ซึ่งมีไขสันหลังเป็นศูนย์กลางของการตอบสนอง ในการตอบสนองนี้ต้องอาศัยการทำงานแบบเป็นวงจรของระบบประสาทที่เรียกว่า รีเฟลกซ์อาร์ก (Reflex Arc) ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ
1. รีเฟลกซ์อาร์กอย่างง่าย (Monosynaptic Reflex Arc) ประกอบด้วยเซลล์ประสาทเพียง 2 เซลล์ คือ เซลล์ประสาทรับความรู้สึกและเซลล์ประสาทนำคำสั่ง ซึ่งมีไซแนปส์ติดต่อกันโดยตรงที่ไขสันหลัง
2. รีเฟลกซ์อาร์กอย่างซับซ้อน (Polysynaptic Reflex Arc) เป็นวงจรของระบบประสาทที่ประกอบขึ้นด้วยเซลล์ประสาท 3 เซลล์ คือ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก เซลล์ประสาทประสานงาน และเซลล์ประสาทนำคำสั่ง มีไซแนปส์เกิดขึ้น 2 แห่ง คือ ระหว่างเซลล์ประสาทรับความรู้สึกกับเซลล์ประสาทประสานงาน และระหว่างเซลล์ประสาทประสานงานกับเซลล์ประสาทนำคำสั่ง

      การตอบสนองแบบรีเฟลกซ์ เป็นการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องผ่านส่วนของสมองที่เกี่ยวกับความคิด เช่น เมื่อมือไปจับวัตถุที่ร้อนจะกระตุกมือหนีจากวัตถุนั้นทันที การเกิดปฏิกิริยารีเฟลกซ์มีประโยชน์ในการควบคุมการทำงานของร่างกาย ช่วยทำให้การทำหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีความสัมพันธ์กันและสามารถทำให้ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกร่างกาย หน่วยปฏิบัติงานของปฏิกิริยารีเฟลกซ์อาจเป็นกล้ามเนื้อเรียบก็ได้ หรือต่อมที่อยู่ภายในร่างกายก็ได้ เช่น เมื่อมีอาหารประเภทโปรตีนตกถึงกระเพาะอาหารจะมีผลกระตุ้นแบบรีเฟลกซ์ให้มีการหลั่งน้ำย่อยออกมาจากผนังกระเพาะอาหาร การกระพริบตา การไอ การจาม การดูดนมของทารกมีผลกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซิน (Oxytocin) ในแม่ซึ่งจะมีผลกระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมที

      (2) ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System หรือ ANS) เป็นระบบประสาทที่ทำงานอยู่ภายนอกอำนาจจิตใจ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน (Visceral Nervous System) ที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ (Involuntary) เช่น กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) และเนื้อเยื่อที่ประกอบกันเป็นต่อม (Grandula Tissue) ในร่างกาย เป็นระบบประสาทที่มีศูนย์ควบคุมอยู่ที่สมองเมดัลลา ออบลองกาตา และไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ แบ่งย่อยออกเป็น 2 ระบบ คือ
1. ระบบซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) ประกอบด้วยเส้นประสาทที่มีศูนย์ควบคุมอยู่ที่ไขสันหลัง ส่วนคอ อก เอว และส่วนที่อยู่เหนือกระเบนเหน็บขึ้นมา (Thoraco-lumber Sympathetic) มีแขนงประสาทก่อนถึงปมประสาท (Preganglionic Fiber) เป็นเส้นสั้น ๆ ที่ปลายแอกซอนของเซลล์ประสาทนี้จะหลั่งสารเคมีซึ่งเป็นสารสื่อประสาทพวกแอซีทิลโคลีน (Acetycholine) ส่วนแขนงของเซลล์ประสาทหลังปม (Postganglionic Fiber) เป็นเส้นยาว และที่ปลายแอกซอนจะหลั่งสารสื่อประสาทพวกอะดรีนาลีน (Adrenaline) แต่อาจมีบางแขนงที่สามารถหลั่งแอซีทิลโคลีนได้
2. ระบบพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nervous System) ประกอบด้วยเส้นประสาทสมองคู่ที่ 3, 7, 9 และ 10 ที่แตกออกมาจากสมองส่วนกลาง ส่วนเมดัลลา ออบลองกาตา และเส้นประสาทที่มาจากกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ เส้นประสาทในระบบนี้มีแขนงของเส้นประสาทก่อนถึงปมประสาทเป็นเส้นยาว ที่ปลายเซลล์จะหลั่งสารสื่อประสาทพวกแอซีทิลโคลีน ส่วนแขนงประสาทหลังปมเป็นเส้นสั้น ๆ และที่ปลายเซลล์จะหลั่งสารสื่อประสาทพวกแอซีทิลโค


วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ระบบประสาท


ระบบประสาท (Nervous System)

      สวัสดีครับน้องๆที่รักทุกคน พี่มีชื่อว่า เบรน นะครับ วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับระบบประสาทในร่างกายเราๆกัน แบบโหด มันส์ ฮา แต่ก่อนอื่น พี่อยากให้น้องๆไปชมคลิปๆหนึ่งกันก่อนนะครับ รับรองว่าสนุกแน่ๆ :]




      เป็นอย่างไรกันบ้างครับน้องๆ? สนุก มีสาระ หรือฟังภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่องกันเอ่ย น่าจะเป็นอย่างหลังสุดกันใช่ม้าา ฮ่าๆๆ ไม่เป็นไรครับ เพราะเดี๋ยวพี่จะคอยเป็นไกด์นำทางน้องๆให้แน่นอน
      ตามมากันเลยครับ...



      ก่อนอื่นพี่เบรนจะเล่าเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบประสาทเรากันก่อนนะครับ ซึ่งพี่เบรนจะพูดง่ายๆว่า สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราต่างๆนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง และส่งผลกระทบมายังตัวเรานั้น เรียกว่า "สิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้น"(Stimulus) ซึง่การรับรู้ต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นเรียกว่า "การตอบสนอง" (Response)
      พี่เบรนอยากบอกว่า การตอบสนองต่อสิ่งเร้าพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด แต่ความสามารถในการตอบสนอง (Irritability) ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดแตกต่างกันออกไปตามลักษณะโครงสร้างของร่างกายและวิธีการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ เช่น ในสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ จะมีกลไกการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเป็นแบบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เพราะยังไม่มีระบบประสาท แต่ในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงขึ้นไปจะมีความสามารถในกาตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยกลไกที่ซับซ้อนขึ้น เพราะมีการพัฒนาของระบบประสาท (Nervous System) และระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland) มาทำงานร่วมกันเป็นระบบประสานงาน (Co-ordinating System) คอยควบคุมให้การทำงานของอวัยวะภายในและส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำงานได้ตามปรกติ
      สำหรับคนและสัตว์มีกระดูกสันหลังมีสมอง (Brain) และไขสันหลัง (Spinal Cord) เป็นโครงสร้างที่สำคัญของระบบประสาท โครงสร้างดังกล่าวนี้มีหน่วยย่อยที่สำคัญคือเซลล์ประสาท (Nerve Cord หรือ Neuron) สิ่งมีชีวิตที่มีปมประสาทและเซลล์ประสาทจำนวนมากถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีระบบประสาทพัฒนาไปมาก



     
      หลายคนดูภาพแล้วอาจงงๆ นี่มันอะไรว่ะ? ฮ่าๆๆ นี่เป็นภาพที่แสดงตำแหน่งสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทของคน ซึ่ง3สิ่งนี้ถือเป็นส่วนสำคัญของระบบประสาทเลยก็ว่าได้ ถ้าหากจำตำแหน่งได้ ก็จะง่ายต่อการศึกษาขั้นต่อไป แต่ถ้าไม่ได้ก็อย่าเพิ่งเครียดนะครับๆ ไม่เป็นปัญหาแน่นอน พี่เบรน ฟันธง!!! :)



      คำว่า ระบบ นั้น น้องๆว่ามันดูใหญ่ไปป่ะ? พี่เบรนก็ว่างั้นแหละ ดังนั้นเราลองมาความรู้จักกับส่วนเล็กๆกันก่อนดีกว่า อย่างเช่น เซลลืประสาท เป็นไง?
      เซลล์ประสาท (Neuron หรือ Nerve Cell) ในระบบประสาทของคนประกอบด้วยเซลล์ประสาทประมาณ 10,000 ล้านถึง 100,000 ล้านเซลล์ โดยเซลล์ประสาทส่วนใหญ่จะอยู่ในสมอง จากการศึกษาพบว่าในช่วงที่อยู่ในครรภ์ เซลล์ประสาจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก คือ ประมาณ 250,000 เซลล์ต่อนาที      
      อันนี้เล่าขำๆ โชว์ความรู้ ตัวเลขอะไรไม่รู้วุ่นวาย ว่าม่ะ? ฮ่าๆๆ
      แต่อันนี้อยากให้จำ "เซลล์ประสาทของคนมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหน้าที่และตำแหน่งที่อยู่ของเซลล์ประสาทนั้น" :))
 






      ภาพอาจดูยากๆ แต่คำอธิบายยากกว่า ฮ่าๆๆ พยายามกันหน่อยนะ สู้ๆ :3
1. ตัวเซลส์ (Cell body) เป็นจุดศูนย์กลางของเซลล์ประสาท ประกอบด้วย นิวเคลียส (nucleus) อยู่ตรงกลางเซลล์ ล้อมรอบด้วยของเหลวที่เรียกว่า ไซโตพลาส (cytoplast) มีผนังเซลล์ (cellmembrane) ทำหน้าที่เป็นผนังห่อหุ้มเซลล์
2. เดนไดรท์ (dendrite) เป็นเส้นใยที่ยื่นออกจากตัวเซลล์มีหน้าที่รับความรู้สึกมีกิ่งก้านสาขาเป็นแขนงสั้น ๆ มีลักษณะคล้ายรากแขนงของต้นไม้
3. แอกซอน (axon) เป็นเส้นใยเดี่ยว ๆ ที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ ทำหน้าที่ส่งความรู้สึกของเซลล์นั้นไปยังเซลล์ประสาทตัวอื่น ๆ แอกซอนมีเปลือกหุ้มเรียกว่า ไมอิลินชีท (myelin sheath) ปลายสุดของแอกซอนเป็นพุ่มต่อกับอวัยวะเรียกเอนด์บลาส (end brust) ใยแอกซอนจะมีความยาวมากเป็นพิเศษ แต่ละเซลล์จะมีเพียงเส้นเดียวเท่านั้น ปลายแขนงย่อยของแอกซอน ทุกแขนงจะมีตุ่มเล็ก ๆ เรียกว่าตุ่มปลายประสาท (terminal buttons) การทำงานของแอกซอนจะเกิดขึ้น เมื่อตัวเซลล์ได้รับกระแสประสาทความรู้สึกจากเดนไดรท์จากนั้นจะส่งกระแสความรู้สึกนั้นไปยังแอกซอน แล้วแอกซอนจะส่งกระแสประสาทความรู้สึกนั้น ต่อไปยังเซลล์ประสาทตัวอื่น ๆ หรือส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดความรู้สึก หรือแสดงปฏิกิริยาตอบสนอง



      เมื่อเรารู้จักเซลล์ประสาทกันแล้ว เราลองมารู้จักชนิดของมันหน่อยนะ ไม่ยากๆ ^^"
1. จำแนกตามรูปร่าง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
      1) เซลล์ประสาทชั้นเดียว (Monopolar Neuron หรือ Unipolar Neuron) หมายถึง เซลล์ประสาทที่มีใยประสาทออกจากตัวเซลล์เพียงแขนงเดียว แล้วแตกเป็นแขนงย่อยอีก 2 แขนง คือเดนไดรต์กับแอกซอน เซลล์ประสาทชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่มีตัวเซลล์อยู่ในปมประสาท เช่น ที่ปมประสาทรากบนของไขสันหลัง (Dorsal Root Ganglion)
      2) เซลล์ประสาทสองขั้ว หมายถึง เซลล์ประสาทที่มีแขนแตกออกจากตัวเซลล์ 2 แขนง โดยแขนงหนึ่งทำหน้าที่เป็นเดนไดรต์ ส่วนอีกแขนงหนึ่งทำหน้าที่เป็นแอกซอน ทั้งเดนไดรต์และแอกซอนจะมีความยาวใกล้เคียงกัน เซลล์ประสาทประเภทนี้ส่วนใหญ่ทำหน้าที่รับความรู้สึก เช่น เซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่พบที่เรตินาของนัยน์ตา เซลล์ประสาทรับกลิ่นที่จมูก และเซลล์ประสาทที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับความสั่นสะเทือนภายในหู เป็นต้น
      3) เซลล์ประสาทหลายชั้น (Multipolar Neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่มีแขนงยื่นออกจากตัวเซลล์หลายแขนงโดยมีเดนไดรต์หลาย ๆ แขนง แต่มีแอกซอนเพียงแขนงเดียว เซลล์ประสาทชนิดนี้จะมีเดนไดรต์สั้น แอกซอนยาว ในเซลล์ประสาทของคนจะพบเซลล์ประสาทนี้มากที่สุด เซลล์ประสาทหลายขั้วทำหน้าที่เป็นเซลล์ประสาทประสานงานและเซลล์ประสาทนำคำสั่ง พบมากที่สมองและไขสันหลัง
      ใครอ่านแล้วงงๆ ลองดูภาพเผื่อเข้าใจขึ้น



 2. จำแนกหน้าที่การทำงาน สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
      1) เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (Sensory Neuron หรือ Afferent Neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแล้วนำกระแสประสาทไปยังระบบประสาทส่วนกลาง เซลล์ประสาทรับความรู้สึกอาจเป็นเซลล์ประสาทขั้วเดียว เช่น ที่พบในปมรากบนของไขสันหลัง หรืออาจเป็นเซลล์ประสาทชนิด 2 ขั้วก็ได้ เช่น เซลล์ประสาทรับกลิ่นที่จมูก เซลล์ประสาทรับเสียงที่หู และเซลล์ประสาทที่พบในเรตินาของนัยน์ตา เป็นต้น
      2) เซลล์ประสาทนำคำสั่ง (Motor Neuron หรือ Efferent Neuron) เป็นเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่นำกระแสประสาทจากสมองหรือไขสันหลังไปยังหน่วยปฏิบัติงานซึ่งอาจเป็นกล้ามเนื้อหรือต่อมต่าง ๆ ในร่างกาย โดยทั่วไปเซลล์ประสาทนำคำสั่งจะเป็นเซลล์ประสาทประเภทหลายขั้ว
      3) เซลล์ประสาทประสานงาน (Associative Neuron ) เป็นเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางส่งกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์ประสาทอีกเซลล์หนึ่งืพบในระบบประสาทส่วนกลางและเซลล์ประสาทประเภทหลายขั้ว
      เราก็มีภาพมาให้ดูเช่นเดิมครับ :]






      ต่อมา เรามาทำความเข้าใจ ในการทำงานของเซลล์ประสาทกันมั่งนะครับ
1. การเคลื่อนที่ของกระแสประสาทในเซลล์ประสาท
      การทำงานของเซลล์ประสาทเป็นผลมาจากการกระตุ้นให้มีกระแสประสาทเกิดขึ้นแล้วเคลื่อนที่หรือส่งไปตามเซลล์ประสาทที่อยู่ติดกันเป็นวงจร กระแสประสาทคุณสมบัติเหมือนกะแสไฟฟ้าที่สามารถวัดแรงเคลื่อนออกมาได้เป็นหน่วยมิลลิโวลท์ (mV) ซึ่งการกระตุ้นให้เกิดกระแสประสาทและการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทนั้น เป็นผลมาจากปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงทางเคมี (Electrochemical Reaction) ของเซลล์ประสาทแต่ละเซลล์ ซึ่งแบ่งออกไดเป็น 3 ชั้น
      1) ก่อนกระตุ้น เซลล์ประสาทก่อนกระตุ้นอยู่ในสภาพปรกติ คือ ยังไม่มีกระแสไหลผ่าน หรือเรียกว่าเป็นการเห็นระยะพัก (Resting Stage)
      2) เมื่อถูกกระตุ้น เซลล์ประสาทที่ถูกกระตุ้นด้วยความแรงของสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดกระแสประสาทได้เรียกว่า Threshold Stimulation และเมื่อเกิดกระแสประสาทขึ้นแล้วจะเกิดโดยตลอดตลอดในอัตราที่สม่ำเสมอ จนถึงปลายแอกซอนถึงแม้จะมีแรงกระตุ้นมากขึ้นก็ตามเยื่อหุ้มประสาทบริเวณที่ถูกระตุ้นจะเปลี่ยนแปลงสมบัติชั่วคราว โดยภายในเซลล์ประสาทจะเกิดการเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าเป็นบวก และผิวภายนอกเซลล์จะเปลี่ยนเป็นประจุลบ เรียกว่าการเกิด ดีโพราไรเซชัน การเปลี่ยนแปลงประจุไฟฟ้าที่ผิวเซลล์นี้จะกินเวลาทั้งหมดเพียง 2/100 วินาทีเท่านั้น และบริเวณนี้จะกลายเป็นจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นที่กระตุ้นให้ใยประสาทบริเวณถัดไปเกิดดีโพราไรเซชันต่อไป ซึ่งจะดำเนินการต่อเนื่องกันไปตลอดเซลล์
      3) การกลับสู่สภาพปรกติ เมื่อมีการนำกระแสประสาทผ่านบริเวณใดไปแล้ว ไฟฟ้าที่ผิวนอกเซลล์และผิวด้านในเซลล์กลับสู่สภาพปรกติเรียกว่า เกิดรีโพราไรเซชัน (Repolarization)
2. การถ่ายทอดกระแสประสาทจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังเซลล์ประสาทอีกเซลล์หนึ่ง
      การนำกระแสประสาทจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งของร่างกาย โดยการผ่านกระแสประสาทออกทางแอกซอนของเซลล์ประสาทไปยังเดนไดรต์ของเซลล์ประสาทหนึ่งอีกเซลล์หนึ่งผ่านช่องแคบ ๆ ที่เรียกว่า ไซแบปส์ (Synapse) การถ่ายทอดกระแสประสาทผ่านไซแนปส์แบ่งออกได้ 2 แบบ คือ
      1) ไซแนปส์ไฟฟ้า (Electrical Synapse) เป็นการถ่ายทอดกระแสประสาทในรูปของกระแสไฟฟ้าโดยตรงจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งได้เลย เพราะช่วงไซแนปส์แคบ พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นต่ำ
      2) ไซแนปส์เคมี (Chemical Synapse) เป็นการถ่ายทอดกระแสประสาทในรูปของสารเคมี เกิดขึ้นกับเซลล์ประสาทที่มีช่วงไซแนปส์กว้าง (ประมาณ 200-500 อังสตรอม) สารเคมีทำหน้าที่นำกระแสประสาทเรียกว่า สารสื่อประสาท (Neurotransmitter) ซึ่งถูกสร้างขึ้นที่ถุงเล็ก ๆ ในไซโทพลาซึมตรงบริเวณปลายแอกซอน เราเรียกถุงที่บรรจุสารสื่อประสาทนี้ว่า Synaptic Vesicle


      มาถึงตรงหลายคนอาจจะน็อคไปแล้ว ฮ่าๆๆ แต่พี่อยากจะบอกข่าวดีว่า นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีเรื่องราวของ ระบบประสาท อีกมากรอเราอยู่ ใครไม่ไหว ก็ลุกไปพัก ล้างหน้าล้างตา หาของที่กินเล่นซักหน่อย และกลับมานั่งที่ เตรียมรับความรู้ต่อไปได้เลย ซึ่งพี่เบรนอยกาบอกว่า ต่อจากนี้แหละ มันส์ขิงๆ(พี่คิดนะ) เพราะเราจะเห็นระบบประสาทที่เป็นรูปธรรม หรือที่เราคุ้นเคยกันมากขึ้น ใครพร้อมแล้ว ตามมาเลยๆ สู้โว้ย!!! >///<"


ศูนย์ควบคุมระบบประสาท
1. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System หรือ CNS)
      ศูนย์ควบคุมของระบบประสาทซึ่งประกอบด้วยสมองไขสันหลังรวมเรียกว่า ระบบประสาทส่วนกลาง
      สมอง (Brain) เป็นส่วนที่ใหญ่และเจริญที่สุดของระบบประสาทส่วนกลาง เป็นส่วนของท่อประสาทเดิมที่ขยายพองออกจนโตเต็มกะโหลกศีรษะ ผนังของท่อมีเซลล์ประสาทและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Neuroglea) อยู่มากมาย เนื้อสมองแบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ
      1) Gray Matter เป็นเนื้อสมองชั้นนอก เป็นที่รวมของเซลล์ประสาทที่ไม่มีเยื่อไมอีลินหุ้ม มองเห็นโพรโทพลาซึมได้ชัดเป็นสีเทา
      2) White Matter เป็นเนื้อสมองชั้นใน เป็นที่รวมของใยประสาทจำนวนมากโดยมีเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเชื่อมโยงยึดไว้อย่างแน่นหนาไม่ให้เคลื่อนที่ ใยประสาทเหล่านี้มีเยื่อไมอีลินหุ้มทำให้มองเห็นเป็นสีขาว เนื้อสมองชั้นนี้ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของกระแสประสาท
      สมองของสัตว์ชั้นสูง เป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทเพื่อทำงานเกี่ยวกับความคิด ความจำ ความฉลาด เชาว์ปัญญา รวมทั้งทำหน้าที่เป็นสถานีกลางเกี่ยวกับระบบประสาททั้งหมดอีกด้วย ในสัตว์ที่มีวิวัฒนาการของระบบประสาทสูงขึ้นจะมีสมองที่มีรูปร่างสลับซับซ้อนและมีคลื่นหยัก (Convulution) เพิ่มมากขึ้นด้วย คลื่นหยักเหล่านี้จะช่วยเพิ่มพื้นที่ของสมอง สัตว์ที่ฉลาดมากจะมีเคลื่อนหยักของสมองมากด้วย สัตว์ที่มีสมองใหญ่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างน้ำหนักตัวและน้ำหนักสมอง สัตว์นั้นจะมีความฉลาดมากกว่าสัตว์ที่มีสมองเล็กกว่าเมื่อเปรียบเทียบอย่างเดียวกันดังตาราง
      สมองประกอบด้วยส่วนสำคัญ 9 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่
1. ซีรีบรัม (Cerebrum)        เป็นส่วนของสมองที่อยู่บนสุดของศีรษะ มีรูปร่างเป็นพูย้อย ตั้งแต่หน้าผากไปตามรูปของกะโหลกศีรษะจนถึงบริเวณท้ายทอย มีขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ 80% ของสมองทั้งหมด บริเวณเปลือกนอกจะมีลักษณะเป็นรอยหยัก ยับย่นจีบ เป็นร่องลึก เรียกว่า คอร์เทกซ์ (Cortex) ซึ่งจัดว่าเป็นบริเวณที่สำคัญมาก ทั้งนี้เนื่องจากพบว่าคนที่มีความฉลาดมากและอัจฉริยะมักจะมีคอร์เทกซ์หรือรอยหยักส่วนนี้มากกว่าปกติ เนื่องจากจะทำให้มีพื้นที่ในการใช้งานของสมองมากตามไปด้วย
       สมองแท้จะเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นศูนย์กลางในการควบคุมพฤติกรรมการเรียนรู้ ความจำ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล เป็นต้น ในส่วนของสมองแท้เองยังแบ่งออกได้อีก 4 ส่วนย่อย ซึ่งในแต่ละส่วนจะมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังนี้
       - พูสมองส่วนหน้า (frontal lobe) ในบริเวณนี้จะแบ่งออกได้อีก 2 ซีก คือ ซีกซ้าย (left themisphere) และซีกขวา (right themisphere) โดยมีหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย หรือเรียกส่วนนี้ว่าเขตมอเตอร์ (motor area) แต่การสั่งงานจะกลับด้านกัน คือสมองซีกซ้ายจะควบคุมการทำงานของอวัยวะด้านขวาของร่างกาย ส่วนสมองซีกขวาจะควบคุมการทำงานของอวัยวะด้านซ้ายของร่างกาย นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางของอารมณ์ การพูด ความคิด การจำ การเรียนรู้ และการใช้ภาษาอีกด้วย
       - พูสมองส่วนกลาง (Parietal lobe) เป็นส่วนที่ค่อนมาทางด้านหลังส่วนบนใกล้กับเขตมอเตอร์ เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกต่าง ๆ ทั่วไปของร่างกาย เช่น ร้อน หนาว เจ็บปวด เป็นต้น หรือเรียกส่วนนี้อีกอย่างหนึ่งว่าเขตรับสัมผัส (sensory area)
       - พูสมองส่วนข้าง (temporal lobe) เป็นส่วนที่อยู่บริเวณด้านข้างของสมองตรงขมับ มีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับรู้ในด้านรส กลิ่น เสียง และความเข้าใจด้านภาษา หรืออาจเรียกส่วนนี้อีกอย่างหนึ่งว่าเขตการฟัง (auditory)
       - พูสมองส่วนหลัง (occipital lobe) เป็นบริเวณที่อยู่ท้ายสุดของสมองแท้ตรงท้ายทอย มีหน้าที่ควบคุมการรับรู้ทางสายตาให้เกิดการมองเห็นภาพต่าง ๆ ทั้งแนวตั้งและแนวนอน หรืออาจเรียกบริเวณส่วนนี้ว่า เขตการเห็น (visual area)
2. สมองเล็ก (cerebellum)
       เป็นสมองส่วนที่อยู่บริเวณท้ายทอยใต้สมองแท้ลงมา รูปร่างเหมือนใบไม้มีลักษณะเป็นรอยหยักย่นเช่นกันแต่น้อยกว่าสมองแท้ ชั้นนอกเป็นสีเทา (gray matter) ส่วนชั้นในเป็นสีขาว (white matter) มีหน้าที่สำคัญคือช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของสมองสามารถทำงานประสานกันได้เป็นจังหวะเดียวกันเพื่อทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เช่น การเล่นเทนนิสจะตีลูกให้ถูกได้ อวัยวะหลายส่วนจะต้องทำงานประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ตา หู แขน ขา มือ ฯลฯ หน้าที่อีกประการหนึ่งคือควบคุมการทรงตัวของร่างกาย เนื่องจากสมองเล็กเป็นตัวรับกระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัสที่ใช้ควบคุมการทรงตัวซึ่งอยู่บริเวณหูชั้นใน ทำให้เกิดความสมดุลในขณะที่ร่างกายกำลังอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ เช่น ขณะยืน เดิน หมุนตัว กระโดด เป็นต้น นอกจากนี้ยังควบคุมการเกร็งตัวของร่างกายอีกด้วย
3. ทาลามัส (thalamus)        เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากสมองแท้ลงมา ทำหน้าที่เป็นศูนย์รับกระแสประสาทความรู้สึกที่ถูกส่งมาจากอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายเข้าสู่ไขสันหลัง ผ่านก้านสมอง (medulla oblongata) พอนส์ และสมองส่วนกลาง (midbrain) ตามลำดับ จนถึงทาลามัส จากนั้นทาลามัสจะจัดการแยกกระแสประสาทเหล่านั้นเพื่อเข้าสู่สมองเขตต่าง ๆ อีกทอดหนึ่ง และเมื่อสมองสั่งการเช่นใด ทาลามัสจะรับคำสั่งนั้นส่งเข้าสู่สมองส่วนกลาง พอนส์ ก้านสมอง และสู่ไขสันหลัง เพื่อส่งคำสั่งนั้นให้ไปมีผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เท่ากับว่าทาลามัสเป็นสถานีสุดท้ายในการจ่ายกระแสประสาทให้กับสมอง และเป็นสถานีแรกที่รับคำสั่งจากสมองเพื่อจ่ายไปสู่อวัยวะต่าง ๆ นอกจากนี้ทาลามัสยังทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กแรกเกิดในขณะที่สมองแท้ยังทำงานได้ไม่เต็มที่อีกด้วย
4. ไฮโปทาลามัส (hypothalamus)        อยู่ใต้ทาลามัสลงมาใกล้กับต่อมไร้ท่อพิทูอิทารี (pituitary gland) เป็นกลุ่มของเซลล์สมองที่มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา ไฮโปทาลามัสถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบลิมบิก (limbic system) และมีหน้าที่สำคัญในการสร้างความสมดุลให้กับระบบการทำงานของร่างกาย เช่น ควบคุมการทำงานของต่อมพิทูอิทารี รักษาระดับความสมดุลของอุณหภูมิร่างกาย การหายใจ การหลับ การตื่น อัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือด ควบคุมความสมดุลในการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมแรงขับ (drive) ต่าง ๆ เช่น ความหิว ความกระหายความต้องการทางเพศ เป็นต้น ความสำคัญของไฮโปทาลามัสนี้เองบางครั้งจึงได้รับสมญาว่าผู้พิทักษ์ร่างกาย (guardian of body) 5. ระบบลิมบิก (limbic system)        เป็นเซลล์ประสาทที่กระจายอยู่โดยรอบทาลามัสและไฮโปทาลามัส ระบบนี้ประกอบด้วย ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) และอะมิกดาลา (amygdala) ทำหน้าที่ควบคุมความโกรธและพฤติกรรมก้าวร้าวของมนุษย์และสัตว์
6. สมองส่วนกลาง (midbrain)
       เป็นส่วนที่มีความยาวประมาณ 1 นิ้ว ตั้งอยู่ใต้ทาลามัส โดยมีเซลล์ประสาทเป็นตัวเชื่อมต่อกัน
7. พอนส์ (pons)
       เป็นส่วนที่อยู่ถัดลงมาจากสมองส่วนกลาง ด้านขวาของพอนส์จะอยู่ติดกับสมองเล็ก (cerebellum) โดยมีใยประสาทเป็นตัวเชื่อม จึงทำให้พอนส์เป็นทางผ่านของกระแสประสาทที่มาจากส่วนล่างเข้าสู่สมองแท้และสมองเล็ก เพื่อให้เกิดการประสานงานกันระหว่างสมองทั้งสองชนิด เช่น สามารถเคลื่อนไหวได้พร้อมกับการทรงตัวที่ดี เป็นต้น
8. ก้านสมอง (medulla oblongata)        เป็นส่วนที่อยู่ต่อจากพอนส์ลงมา และเป็นส่วนสุดท้ายของสมอง โดยก้านสมองจะทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างสมองกับไขสันหลัง ภายในก้านสมองหรือ เมดูลลาประกอบด้วยเส้นประสาทเป็นมัด เพื่อส่งกระแสประสาทที่ได้รับจากสมองผ่านส่วนต่าง ๆ ลงมาตามลำดับเพื่อส่งเข้าสู่ไขสันหลังและรับกระแสประสาทที่ส่งขึ้นมาจากไขสันหลังส่งต่อไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของสมองตามลำดับเช่นกัน เท่ากับว่าก้านสมองเป็นสถานีรับส่งกระแสประสาทสุดท้ายที่เชื่อมต่อระหว่างสมองกับไขสันหลัง แต่เนื่องจากมัดของเส้นประสาทที่อยู่ภายในก้านสมองนั้นมีลักษณะไขว้กันเป็นรูปกากบาท จึงทำให้เส้นประสาทชุดที่มาจากร่างกายซีกขวาจะไปเชื่อมต่อกับเส้นประสาทที่จะเข้าสู่สมองซีกซ้าย และเส้นประสาทชุดที่มาจากร่างกายซีกซ้ายจะไปเชื่อมต่อกับเส้นประสาทที่จะเข้าสู่สมองซีกขวา จึงมีผลทำให้สมองซีกขวาควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกซ้ายและสมองซีกซ้ายจึงควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกขวา นอกจากนี้ก้านสมองยังทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายในบางชนิดอีกด้วย เช่น การเต้นของหัวใจ การขยายและหดตัวของปอด การย่อยอาหาร การยืดและหดตัวของเส้นเลือด เป็นต้น
9. เรติคิวลาร์ ฟอร์เมชั่น (reticular formation)        เป็นกลุ่มของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ทำหน้าที่ควบคุมสภาวะตื่นตัวของร่างกาย การแสดงอาการงุนงง เป็นต้น

      ไขสันหลัง (Spinal Cord) เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลาง อยู่ต่อจากสมองส่วนเมดัลลา ออบลองกาตา
      ไขสันหลังมีลักษณะเป็นรูปแท่งทรงกระบอกและมีเยื่อหุ้มไขสันหลังปกคลุมอยู่ ไขสันหลังอยู่ในกระดูกสันหลังตั้งแต่กระดูกสันหลังข้อแรกมาสิ้นสุดที่กระดูกบั้นเอวข้อที่ 1 หรือ ขอบบนของกระดูกบั้นเอวข้อที่ 2 แต่เยื่อหุ้มไขสันหลังจะหุ้มลงไปจนถึงกระดูกสันหลังข้อสุดท้าย ดังนั้น จากกระดูกบั้นเอวข้อที่ 1 ลงมาจะไม่มีเนื้อไขสันหลังอยู่เลยแต่มีเส้นประสาทที่ออกมาจากไขสันหลัง ในการเจาะเอาน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังสามตรวจ หรือฉีดยาชาสำหรับการผ่าตัด แพทย์จะฉีดเข้าไปในบริเวณต่ำกว่ากระดูกบั้นเอวข้อที่ 2 ลงไป ส่วนใหญ่จะแทงเข็มลงไประหว่างกระดูกบั้นเอวข้อที่ 4 ต่อกับข้อที่ 5 เพราะเป็นตำแหน่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อไขสันหลัง

2. ระบบประสาทรอบนอก
      ระบบประสาทรอบนอกทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลาย ที่ยึดติดกับกระดูกให้เคลื่อนไหวหรือทรงตัวได้ตามต้องการ ประกอบด้วยเส้นประสาทสมองและเส้นประสาทไขสันหลัง
      เส้นประสาทสมอง (Cranial Nerve หรือ CN) เป็นเส้นประสาทที่ออกมาจากสองโดยแยกออกเป็นคู่ ๆ ในสัตว์พวกปลาและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมีเส้นประสาทสมองอยู่ 10 คู่ ส่วนสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะมีเส้นประสาทสมอง 12 คู่ เส้นประสาทสมองของคน มีทั้งเส้นประสาทรับความรู้สึก (Sensory Nerve) เส้นประสาทนำคำสั่ง (Motor Nerve) และเส้นประสาทผสม (Mixed Nerve)
      เส้นประสาทไขสันหลัง (Spinal Nerve หรือ SN) เป็นเส้นประสาทแบบผสมทั้งหมด แยกออกจากไขสันหลังเป็นคู่ ๆ มีทั้งหมด 31 คู่ โดยมีส่วนโคนตอนที่ติดกับไขสันหลังแยกออกเป็น 2 ราก คือ รากบน (Dorsal Root) มีเซลล์ประสาทแบบขั้วเดียวซึ่งมีใยประสามแยกออกจากตัวเซลล์ 2 แขนง โดยแขนงหนึ่งไปติดต่อกับอวัยวะรับความรู้สึก อีกแขนงหนึ่งจะเข้าสู่เนื้อสีเทาของไขสันหลัง ส่วนรากล่าง (Ventral Root) เป็นที่อยู่ของเซลล์ประสาทนำคำสั่งเพื่อนำกระแสประสาทไปยังหน่วยปฏิบัติงาน